ภาคประชาสังคมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการผ่อนปรนกฎระเบียบในอุตสาหกรรมประมง
ตามนโยบายหาเสียงของหลายพรรคการเมืองของประเทศไทยที่ประกาศจะยกเลิกกฎระเบียบการประมงที่สำคัญ 81 องค์กรภาคประชาสังคมได้ออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เข้ามามีบทบาทและแสดงจุดยืนที่จะไม่นำพาอุตสาหกรรมประมงไทยกลับไปสู่อดีตอันน่าสะพรึงกลัว ตามรายงานจากโครงการความร่วมมือแห่งสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์เมื่อปี พ.ศ. 2552 ในอดีตลูกเรือประมงข้ามชาติกว่า 60% เคยให้ข้อมูลว่าในช่วงนั้นตนพบเห็นการทำร้ายร่างกายกลางทะเลในกองเรือประมงของไทย
ในช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2566 พรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดหลายพรรคในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรีก็ตามได้เผยแพร่จุดยืนเชิงนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูปและผ่อนปรนการควบคุมภาคประมงของไทย หลายฝ่ายสัญญาว่าจะ "ปลดล็อก" การประมงโดยลดความเข้มข้นกฎระเบียบและความโปร่งใสในการทำประมง
แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเศรษฐาดำเนินการทันทีเพื่อให้แน่ใจว่ากลไกที่ถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU) และกลไกด้านความโปร่งใสที่มีอยู่ในปัจจุบันควรจะได้รับการสนับสนุนให้เข้มแข็งมากขึ้นแทนที่จะถูกผ่อนปรน
แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงข้อเรียกร้องที่เป็นปัญหาของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทยในการปฏิรูปการประมง ซึ่งได้แก่การคำนวนค่าแรงแบบรายวัน การอนุญาตให้ใช้แรงงานเด็ก และลดมาตรการเชิงลงโทษที่ออกแบบมาเพื่อขัดขวางการทำประมงผิดกฎหมาย ทั้งนี้พวกเราขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีไม่รับข้อเรียกร้องเหล่านี้ เนื่องจากข้อเรียกร้องดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความกังวลอย่างมากต่อผู้ซื้ออาหารทะเลรายใหญ่ และทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยในตลาดอาหารทะเลโลกต้องสูญสิ้นลง
ในปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ. 2558 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และคณะกรรมาธิการยุโรปได้แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อภาคประมงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ประเทศไทยต้องตกลงจากอันดับสามของโลกในด้านการส่งออกอาหารทะเลเมื่อปี พ.ศ. 2555 มาเป็นอันดับที่ 13 ในปี พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้พยายามลดปริมาณการทำประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการประมงมาอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากลำบากของประเทศได้เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้วยฟื้นฟูการประมงและชื่อเสียงของประเทศ
แม้ว่าผู้ที่เรียกร้องให้ยกเลิกกฎระเบียบที่มีอยู่อาจโต้แย้งว่าการส่งออกอาหารทะเลไปสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5.6% ของการส่งออกอาหารทะเลของไทยทั้งหมด โดยเสนอว่าการห้ามส่งออกของสหภาพยุโรปไม่ก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมประมงของประเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารนาข้อเท็จจริงแล้วจะพบว่าข้อกำหนดในการตรวจสอบย้อนกลับอาหารทะเลที่เกิดขึ้นจากหลายประเทศอาจสร้างผลกระทบถึงเกือบสองในสามของปริมาณการส่งออกอาหารทะเลของไทยทั้งหมดซึ่งผลกระทบดังกล่าวมีมูลค่า 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (118.3 พันล้าน���าท) ต่อปี แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้ยังเน้นย้ำว่าการผ่อนปรนการควบคุมอุตสาหกรรมประมงอาจส่งผลเสียเป็นลูกโซ่ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 18% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของประเทศไทย หากการทำประมงเกินขนาด การประมงที่ไม่ยั่งยืน และการประมงผิดกฎหมายได้รับการผ่อนปรน
ก่อนที่จะมีการปฏิรูปใดๆในอุตสาหกรรมประมงของไทย ผลการวิจัยในอดีตจากการสัมภาษณ์ลูกเรือประมงไทยระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2557 เปิดเผยว่า 80% รายงานว่าไม่เคยรู้สึกเป็นอิสระ และ 68% รายงานว่าพบความรุนแรงทางเพศหรือทางกายภาพซึ่งผลการวิจัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งจากรายงานขององค์การสหประชาชาติและภาควิชาการ
สตีฟ เทรนท์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ราคาของการยอมให้อุตสาหกรรมประมงหวนคืนไปสู่สภาพก่อนการปฏิรูปนั้นมีราคาแพงเกินไปสำหรับประเทศไทย หลังจากหลายทศวรรษที่ผู้ประกอบการประมงทำประมงอย่างไม่ยั่งยืนและใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม การปฏิรูปการประมงที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยากลำบากส่งผลให้ระบบนิเวศทางทะเลในประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวและการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ลดลง”
“อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าที่มีมาทั้งหมดอาจหายไปเพียงเพราะการดำเนินการแก้ไขเพียงเล็กน้อยนี้โดยการยกเลิกกฎระเบียบที่มีการเรียกร้องอยู่นั้นย่อมส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำของไทยจะถูกทำลาย และสวัสดิภาพของแรงงานประมกลับมาตกอยู่ในอันตรายอีกครั้ง นอกจากนี้ข้อเรียกร้องดังกล่าวยังคุกคามศักยภาพทางเศรษฐกิจในตลาดอาหารทะเลโลกของประเทศไทยอีกด้วย ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงเป็นอันตรายต่อทั้งภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเล มีเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญนี้จะอยู่รอดได้ นั่นคือเสริมสร้างความเข้มแข็งของกฎระเบียบและความโปร่งใสที่มากขึ้น” Trent กล่าว
นสุดเนื้อหา
หมายเหตุบรรณาธิการ
แถลงการณ์ร่วมฉบับเต็มสามารถเข้าถึงได้ที่นี่
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
สำนักงานสื่อสารมวลชน EJF
E: nattawut.kasem@ejfoundation.org