ข้อมูลใหม่เผย กองเรือเกาหลีพัวพันการทำประมงผิดกฎหมายในคาบสมุทรแปซิฟิก
กระทรวงมหาสมุทรและประมงเกาหลีได้มีข้อสรุปเมื่อวานนี้ว่า เรือซันฟลาวเวอร์ 7 (SUN FLOWER 7) ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดอย่าง "รุนแรงมาก" ต่อกฎหมายการทำประมงนอกน่านน้ำของประเทศเกาหลีใต้ และได้กำหนดให้มีโทษปรับเป็นเงิน 200 ล้านวอน (200,000 เหรียญสหรัฐ) EJF ขอแสดงความชื่นชมต่อการตัดสินใจในครั้งนี้และเรียกร้องให้รัฐเจ้าของธงทั้งหมดรวมทั้งประเทศเกาหลี ตรวจสอบและดำเนินการที่จำเป็นกับเรือทุกลำในกองเรือของตน
หลังจากที่ทางการไทยได้ป้องกันไม่ให้เรือประมงซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการทำประมงผิดกฎหมายในสาธารณรัฐคิริบาส ขนถ่ายสัตว์น้ำมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐที่กรุงเทพฯ ได้ไม่นานนัก มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) ได้ตรวจสอบพบเรือประมงของเกาหลีหรือมีธงชาติเกาหลีอีกกว่า 10 ลำ กระทำการในลักษณะเดียวกัน EJF ขอชื่นชมทางการไทยที่ได้ดำเนินการพิทักษ์ทะเล อีกทั้งยังสนับสนุนให้ประเทศเกาหลีและประเทศอื่นๆ ดำเนินการตาม
เมื่อไม่นานมานี้ เรือซันฟลาวเวอร์ 7 (SUN FLOWER 7) ซึ่งเป็นเรือบรรทุกสัตว์น้ำชักธงชาติเกาหลีใต้ ได้ถูกทางการไทยปฏิเสธไม่ให้ขนถ่ายปลาทูน่ากว่า 4,000 กิโลกรัมที่กรุงเทพฯ โดยประเมินเป็นมูลค่าสูงถึง 250 ล้านบาท (7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ จากการสืบสวนของ EJF พบว่า ยังมีเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีกหลายกรณี
เหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการใช้แพล่อปลา (Fish Aggregation Devices: FADs) ของเรือซันฟลาวเวอร์ 7 ที่ไม่ได้รับอนุญาตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสาธารณรัฐคิริบาส โดยเรือลำดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้กู้แพล่อปลาในน่านน้ำคิริบาส จึงนับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ข้อมูลใหม่จาก EJF เผยว่า ยังมีเรืออีก 10 ลำที่ดำเนินกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน โดย EJF ได้ทำการศึกษาเส้นทาง AIS ของเรือบรรทุกสินค้าสัญชาติเกาหลีและเรือในเครือฯ เพื่อตรวจจับพฤติกรรมที่มีความใกล้เคียง ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงการดำเนินกิจกรรมในลักษณะใกล้เคียงกันได้
เรือทั้ง 10 ลำ ชักธงเกาหลีใต้ หรือมีความเป็นเจ้าของหรือความเกี่ยวข้องผูกพันทางผลประโยชน์กับบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ เรือจำนวนหนึ่งมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการวางหรือกู้แพล่อปลาหลายครั้งตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีเรือ 5 ลำ ที่กระทำการดังกล่าวในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสาธารณรัฐคิริบาส และอีก 5 ลำ กระทำการในทะเลหลวง ตามแนวชายขอบประเทศฯ นอกจากนี้ ยังพบว่า มีเรือ 2 ลำ ที่อาจวางหรือกู้แพล่อปลาในช่วงที่มีการห้ามใช้แพล่อปลาในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน และในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
การใช้แพล่อปลาในบริเวณดังกว่ามีความเชื่อมโยงกับการจับปลาทูน่ามากเกินไป สัตว์น้ำพลอยได้จำนวนมาก (สัตว์น้ำชนิดอื่นที่จับได้โดยไม่เจตนาขณะจับสัตว์น้ำเป้าหมายบางชนิด) และการจับปลาทูน่าวัยอ่อน รวมทั้งการเชื่อมโยงกับการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งหมายความว่า การวางหรือกู้แพล่อปลาที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้นถือเป็นภัยคุกคามต่อการทำประมงที่ยั่งยืนและประชาชนที่พึ่งพาอาศัยทรัพยากรนี้ EJF กล่าว
EJF ได้ทำการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลติดตามการเดินเรือนับร้อยๆของเรือชักธงเกาหลีใต้ หรือมีความเป็นเจ้าของหรือความเกี่ยวข้องผูกพันทางผลประโยชน์กับบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้เพื่อสืบหาพฤติกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยเรือทั้ง 10 ลำเรือชักธงเกาหลีใต้ หรือมีความเป็นเจ้าของหรือความเกี่ยวข้องผูกพันทางผลประโยชน์กับบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้มีพฤติกรรมเข้าข่ายมีส่วนร่วมในการปล่อยหรือเก็บกู้แพล่อปลาหลายต่อหลายครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลชุดใหม่ของ EJF ร่วมกับ Starboard Marine Intelligence เผยถึงปัญหาด้านการปฏิบัติตาม (Compliance) กฎหมายแพล่อปลาในเขตทะเลแปซิฟิกตะวันตกและกลางอย่างเป็นระบบ โดย EJF ขอสนับสนุนให้เมืองท่าต่างๆ ปฏิบัติตามแนวทางของประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีมาตรการทางการท่าที่แข็งแกร่ง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล และป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์จากการทำประมงผิดกฎหมายเข้าสู่ตลาดได้
EJF ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า หากไม่มีการบังคับใช้มาตรการดังกล่าว กลุ่มผู้ทำประมงผิดกฎหมายจะยังคงเข้าถึงบริการทางการท่าต่างๆ และได้รับผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศทางทะเลได้อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายการจัดการประมงระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ EJF ขอให้รัฐบาลเกาหลีใต้เร่งตรวจสอบบันทึกเส้นทางและการสื่อสารทั้งหมดของเรือบรรทุกสินค้าดังกล่าว เพื่อดำเนินการทางกฎหมายตามความเหมาะสมต่อไป ประเทศเกาหลีใต้ควรตรวจสอบข้อมูลระบบเฝ้าระวังกองเรือบรรทุกสินค้า เพื่อค้นหาว่า นอกจากเรือ 10 ลำ ที่ EJF ตรวจพบแล้ว ยังมีเรือ ซึ่งอยู่ในกองเรือเดียวกันและมีการติดต่อสื่อสารกับเรืออวนล้อมจับทูน่าที่ได้รับผลประโยชน์จากการวางแพล่อปลา อีกกี่ลำที่มีพฤติกรรมในลักษณะคล้ายคลึงกันและควรค่าแก่การสืบสวนเพิ่มเติม และถึงแม้ว่า จะมีแผนตรวจสอบเรือซันฟลาวเวอร์ 7 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ประเทศเกาหลี EJF ยังมองว่า ความโปร่งใสเป็นเรื่องสำคัญยิ่งตามกฎบัตรสากลว่าด้วยความโปร่งใสในกิจการประมง (Global Charter for Fisheries Transparency) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก มาตรการด้านความโปร่งใสควรครอบคลุมถึงการทำให้มั่นใจว่า เรือบรรทุกสินค้าทุกลำจะปฏิบัติตาม (Compliance) กฎหมายด้านการวางและกู้แพล่อปลาของรัฐเจ้าของเรือ องค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค (RFMO) และรัฐเจ้าของชายฝั่ง นอกจากนี้ EJF ยังกล่าวว่า ควรมีการเผยแพร่ทะเบียนเรือบรรทุกสัตว์น้ำและรายชื่อเรือที่ถูกลงโทษทั้งหมดของเกาหลีใต้
อีกทั้ง EJF ยังขอสนับสนุนให้ทุกประเทศนำกฎบัตรสากลว่าด้วยความโปร่งใสในกิจการประมง (Global Charter for Fisheries Transparency) มาปรับใช้ เนื่องจากเป็นมาตรการลดความเสี่ยงด้านการทำประมงผิดกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำลายระบบนิเวศทางทะเลที่ประหยัดและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
นาย สตีฟ เทรนท์ ประธานเจ้าหน้าบริหารและผู้ก่อตั้งมูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ผมขอชื่นชมทางการไทยที่ดำเนินการต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมายด้วยการห้ามไม่ให้เรือซันฟลาวเวอร์ 7 ขนถ่ายสินค้าลงที่กรุงเทพฯ และรัฐเจ้าของท่าทั้งหมดต้องเร่งจัดการกับเรือลำอื่นๆ ที่ทำการประมงในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลสูงสุด”
“พวกเราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย ยั่งยืน และเป็นธรรม โดยรัฐเจ้าของท่าและรัฐเจ้าของธงเรือเองสามารถช่วยกันขับเคลื่อนการทำประมงในลักษณะนี้ได้ โดยเฉพาะรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ผมอยากขอให้เร่งตรวจสอบกองเรือ ปรับปรุงเรื่องความโปร่งใส และพัฒนาการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อความปลอดภัย โลกที่ยั่งยืน อนุวัติกฎบัตรสากลว่าด้วยความโปร่งใสในกิจการประมง (Global Charter for Fisheries Transparency) เป็นกฎหมายภายในชาติถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศเกาหลีใต้และประเทศอื่นๆทั่วโลก”
ข้อความถึงบรรณาธิการ
มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับสากล ซึ่งดำเนินงานด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน www.ejfoundation.org
EJF เริ่มดำเนินงานในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านระบบการจัดการประมงที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และถูกต้องตามหลักจริยธรรม โดยตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา EJF ได้ทำงานใกล้ชิดกับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ราชนาวีไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย EJF ได้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอเป็นรูปแบบรายงานให้แก่รัฐบาลไทยและคณะทำงานของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบด้วยคำแนะนำในการยกระดับอุตสาหกรรมการประมงและการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทย
แพล่อปลา (FADs) มีความเกี่ยวข้องกับการจับปลาทูน่าเกินขนาด จำนวนสัตว์น้ำพลอยได้ที่สูง และการจับปลาทูน่าอ่อนวัย รวมไปถึงความเสี่ยงในการทำประมงแบบ IUU หากเรือประมงเข้าไปใกล้พื้นที่ปิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายของประเทศนั้นๆ หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สำนักงานข่าวของ EJF (EJF Press Office)
E: media@ejfoundation.org