สหภาพยุโรปยกเลิกใบเตือนเรื่องการทำประมงผิดกฎหมายของประเทศไทย EJF แนะมาตราการต่อต้านการประมงผิดกฎหมายและการละเมิดที่เกี่ยวข้องยังคงต้องดำเนินต่อไป
EJF ขอขอแสดงความยินดีแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านในรัฐบาลไทยที่ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งใบเขียวและการต่อสู้กับ IUU
วันนี้สหภาพยุโรปประกาศยกเลิก “ใบเหลือง” ที่เคยให้แก่อุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศไทย มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ในการรับมือกับปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุม (Illegal, unreported, and unregulated (IUU) fishing) แม้ว่าประเทศไทยจะมีพัฒนาการอย่างสำคัญ อย่างไรก็ดียังคงมีช่องว่างอยู่
ใบเหลืองของสหภาพยุโรปคือการเตือนอย่างเป็นทางการแก่อุตสาหกรรมประมง ซึ่งอาจนำไปสู่การห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสู่สหภาพยุโรป เรื่องนี้สำคัญมากต่อประเทศไทยซึ่งส่งออกอาหารทะเลอย่างมหาศาล ในปี พ.ศ. 2559 ปีเดียวมีมูลค่าถึง 5.8 พันล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ
EJF ตะหนักดีถึงพัฒนาการที่มีความสำคัญและยั่งยืนของมาตราการสังเกตการณ์ การเฝ้าระวัง และศักยภาพในการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย การตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการเชิงบวก ซึ่งหมายรวมไปถึงนวตกรรมความพยายามต่างๆ เช่น การใช้เรือตรวจการณ์นอกแบบต่อกรกับผู้ประกอบการเรือประมงที่ไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมายและการสกัดกันเรือที่ทำการประมงผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อบทบาทผู้นำในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมโดยการก้าวเป็นชาติแรกในเอเซียที่กำลังจะให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ซึ่งจะเป็นการตั้งมาฐานขั้นพื้นฐานงานที่มีคุณค่าในอุตสาหกรรมประมง ก้าวย่างสำคัญนี้เป็นเรื่องที่น่ายกย่องและเราตะหนักว่าการให้สัตยาบันอนุสัญญาเป็นไปตามกระบวนการที่วางแผนไว้สิ้นเดือนมกราคมนี้
อย่างไรก็ดี EJF ยังคงพบจุดอ่อนที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งขัดขวางการที่อุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยจากการก้าวขึ้นสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่มีจริยธรรมและยั่งยืนอย่างแท้จริง
หลังการประชุมกับรองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิทย์ วงษ์สุวรรณ และ รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาผู้อำนวยการบริหาร EJF นายสตีฟ เทรนท์ กล่าวว่า “ประเทศไทยมีพัฒนาการอย่างสำคัญในการทำให้แน่ใจว่ากองเรือประมงปฏิบัติตามระเบียบการด้านประมงใหม่ ผ่านการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวัง ระบบการตรวจสอบ และความพยายามบังคับใช้กฎหมายรูปแบบใหม่ ประเทศไทยต้องดำเนินการบังคับใช้มาตราการต่างๆเพื่อเป็นการตอกหมุดหมายพัฒนาการนี้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงบทบาทผู้นำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้านการบริหารการประมงอย่างยั่งยืน”
การรับมือกับกองเรือประมงของไทยที่ทำประมงเกินขีดจำกัดคือจุดสูงสุดของการรักษาเสถียรภาพสัตว์น้ำเศรษฐกิจ EJF ชื่นชมพัฒนาการล่าสุดในการสำแดงเรือประมงที่ควรถูกนำออกนอกระบบ เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นแก่โครงการลดขนาดกองเรือประมงอย่างเร่งด่วน
เครือข่ายศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกมีศักภาพที่จะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการต่อกรกับทั้งการประมงผิดกฎหมายและการละเมิดสิทธิแรงงานที่เกี่ยวข้อง เรือประมงที่มีขนาดมากว่า 30 ตันกรอสทุกลำจำเป็นต้องรายงานตัวแก่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในพื้นที่ของตนเองก่อนและหลังการทำประมงทุกเที่ยวเพื่อเข้ารับการตรวจสอบโดยผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ดี EJF สังเกตพบข้อบกพร่องในการตรวจสอบ เช่น ความล้มเหลวในการให้บริการแปลภาษาอย่างมีมาตรฐานแก่ลูกเรือข้ามชาติ ซึ่งหมายความว่าลูกเรือข้ามชาติอาจจะไม่สามารถให้ข้อมูลที่จำเป็นระหว่างการสัมภาษณ์
เจตนารมณ์ทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญเมื่อปราศจากใบเตือนเรื่องการยกเลิกการนำเข้าสัตว์น้ำจากสหภาพยุโรปที่จะปกป้องพัฒนาการเชิงบวกที่เกิดขึ้นและทำให้มั่นใจถึงผลสำเร็จในระยะยาว ซึ่งจะช่วยก่อตั้งให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทั้งในระดับภูมิภาคและนานาชาติด้านผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีจริยธรรม EJF ยังคงให้คำมั่นที่จะทำงานกับรัฐบาลไทยอย่างใกล้ชิดอันจะนำมาซึ่งการปฏิรูปเหล่านั้นและพิทักษ์พัฒนาการที่ได้เกิดขึ้นแล้วโดยเร็วและสมูบรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“EJF ยังชื่นชมบทบาทความเป็นผู้นำอย่างดีเยี่ยมของสหภาพยุโรปในการต่อสู้กับการประมงผิดกฎหมายในประเทศไทยและส่วนอื่นๆในโลก หากปราศจากความพยายามที่เข้มข้น ชัดเจน และรุดหน้าที่ริเริ่มโดยสหภาพยุโรปและคณะทำงานที่อุทิศตัวที่นั่น คงเป็นการยากที่จะเห็นพัฒนาการการทำประมงที่ผิดกฎหมาย การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการควบคุมที่เราได้เห็นอยู่นี้ ยุโรปสามารถภูมิใจอย่างมากต่อบทบาทผู้นำที่แสดงออกมาครั้งนี้” นายสตีฟ สรุป