
การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงนั้นเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อประเทศไทย บทความโดย สตีฟ เทรนท์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF)
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกำลังเดินหน้าเรียกร้องและพลักดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกและผ่อนปรนการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างมหาศาล การเรียกร้องเช่นนี้นั้นถือเป็นการกระทำที่ขาดวิสัยทัศน์และขาดการมองการไกลไปถึงอนาคตข้างหน้าของประเทศไทย และประชากรอย่างน้อยหลายแสนคนที่ชีวิตความเป็นอยู่นั้นขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนี้
ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาด การรายงาน ไร้การควบคุม (IUU Fishing) และสามารถปกป้องทรัพยากรไว้สำหรับอุตสาหกรรมประมงภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้แก่ประเทศไว้ได้ โดยก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึงทศวรรษ ประเทศไทยยังคงมีอุตสาหกรรมประมงที่มีการทำประมงผิดกฎหมายและการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเกิดขึ้นเป็นประจำ และเรือประมงไทยยังเคยต้องออกไปทำประมงในระยะทางที่ไกลและใช้ระยะเวลาที่นานเนื่องจากไม่มีปลาให้จับในทะเล
เมื่อสถานการณ์ที่ย่ำแย่ดังกล่าวได้ตกเป็นที่จับตามอง การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงไทยก็เริ่มขึ้น และอุตสาหกรรมประมงไทยก็เริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านของการกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเฟื่องฟูอีกครั้ง และยังเป็นอุตสาหกรรมที่จะเติบโตต่อไปได้จนถึงชาวประมงอีกหลายรุ่น การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้ต้องการมาอย่างยาวนาน และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า หากการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงนี้ไม่เกิดขึ้น ประเทศไทยคงต้องเผชิญกับทั้งข้อครหาจากประชาคมโลก และอุตสาหกรรมประมงที่จะมีการเติบโตที่ถดถอยลง
หลังจากที่รัฐบาลไทยได้มีการเริ่มปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงอย่างจริงจัง การประมงของไทยก็เริ่มได้รับการฟื้นฟู
ชาวประมงพื้นบ้านหลายคนได้เล่าให้ EJF ฟังว่า จำนวนปลาและสัตว์น้ำอื่นๆกำลังทยอยกลับมาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ขนาดของสัตว์น้ำเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ชาวประมงพื้นบ้านคนหนึ่งบอกเราว่า: “ หลังจากที่เริ่มมีกฎระเบียบด้านการประมงใหม่ๆ สัตว์น้ำก็เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ผมมีความสุขมาก และรู้สึกปลื้มใจมากที่ปลาและสัตว์น้ำเหล่านี้จะมีโอกาสเติบโตไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน “
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกำลังสร้างความเข้าใจที่ผิดๆให้กับสาธารณะชน ทั้งอ้างว่ากฎระเบียบต่างๆที่ถูกบังคับใช้นั้นถูกออกมาถี่และมีจำนวนมากเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการประมงไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปไปได้ เนื่องจากโทษปรับของกฎหมายมีความรุนแรงเกินไป นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทำการซื้อเรือประมงพาณิชย์กว่า 10,000 ลำคืน โดยอ้างว่าหากไม่มีกฎระเบียบเหล่านี้ อุตสาหกรรมประมงไทยก็จะเติบโตและเฟื่องฟูได้เหมือนเวียดนาม
ข้อเรียกร้องเหล่านี้นั้นเป็นข้อเรียกร้องที่เห็นแก่ตัว และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนเพียงกลุ่มเล็กๆ และหลายคนอาจเป็นผู้ประกอบการที่อาศัยช่องว่างของกฎหมายในการทำผิด และจะทำให้ชาวประมงพื้นบ้านหลายหมื่นคนต้องตกอยู่ในความลำบาก
ข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวมาด้านบนนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
การปฏิรูปที่ค่อยเป็นค่อยไป
นับตั้งแต่การริเริ่มการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงในพ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ โดยให้เวลาผู้ประกอบการเรือประมงได้มีช่วงปรับตัว และยังให้เวลาถึงหนึ่งปีในการให้ผู้ประกอบการหลายรายปรับเปลี่ยนเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการบางอย่างยังก่อให้เกิดภาระและหน้าที่ในการพลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐ มากกว่าจากผู้ประกอบการ เช่น การจัดตั้ง ก่อตั้งศูนย์การแจ้งเข้า-ออกเรือประมง
กองเรือไทย ซึ่งเคยทำการประมงอย่างเกินกำลังผลิตยังถูกลดจำนวนลงเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น จาก 13,000 ลำ เป็น 10,000 กว่าลำในปัจจุบัน โดยการลดจำนวนเรือประมงนี้นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพยากรประมงเกิดความสูญเสียไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ ตัวเลขเรือประมงในอดีตกว่า 40,000 ลำที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้อ้างมานั้นยังรวมเรือประมงพื้นบ้าน 27,000 ลำ ที่ผลการผลิตสัตว์น้ำนั้นต่ำกว่าผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์อย่างเห็นได้ชัด
แท้ที่จริงแล้วนั้น วิธีแก้ปัญหาเรื่องบทลงโทษของกฎหมายที่ ‘ รุนแรง ‘ เกินไปนั้นแก้ได้ไม่ยาก นั่นก็คือ การไม่ทำประมงผิดกฎหมาย เพราะนอกจากการบังคับใช้กฎหมายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังมีหน้าที่ตามกฎหมายสากลในการออกแบบและสร้างระบบการลงโทษที่ป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถป้องกันผู้ที่มีโอกาสกระทำผิดให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าวได้
ความจริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมงเวียดนาม
การแนะนำว่าประเทศไทยควรจะมีอุตสาหกรรมประมงที่เฟื่องฟูอย่างประเทศเวียดนามนั้นเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ ในปัจจุบัน ประเทศเวียดนามกำลังต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งวิกฤตครั้งนี้เกิดจากการเดินตามรอยความผิดที่เคยเป็นตราบาปของอุตสาหกรรมประมงไทยในอดีต
ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตของกองเรือประมงเร็วที่สุดในโลก โดยขนาดกองเรือนั้นพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 160% ในระหว่างพ.ศ. 2533 ถึง 2562 โดยผลผลิตอาหารทะเลทั้งหมดของประเทศในพ.ศ. 2561 นั้นอยู่ที่ 3.4 ล้านตัน ทะลุค่าผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Yield: MSY) ที่ 2.3 ล้านตันไปหลายล้านตัน
พฤติกรรมการทำประมงเกินกำลังผลิตเช่นนี้ ทำให้เรือประมงเวียดนามต้องดิ้นรนออกมาทำการประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำสากลซึ่งอยู่ในอนาเขตของประเทศต่างๆ เนื่องจากปลาในทะเลเวียดน้ำนั้นไม่มีเพียงพอให้จับอีกแล้ว โดยจากการสืบสวนกว่า 2 ปี ของมูลนิธิ EJF ไต๋เรือหลายคนได้เล่าว่าผู้ประกอบการเรือประมงหลายคนได้มีการสั่งและสนับสนุนให้เรือประมงออกจากเวียดนามเพื่อมาทำการประมงผิดกฎหมาย โดยในระหว่างต้นปีพ.ศ. 2561จนถึงเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2562 มีเรือประมงสัญชาติเวียดนามอย่างน้อย 254 ลำที่ถูกจับในข้อการทำการประมงผิดกฎหมายใน 11 ประเทศ ในขณะที่ผู้ประกอบการเรือเวียดนามกำลังเผชิญกับสภาวะขาดทุน ผู้ประกอบการหลายรายยังพยายามกอบกู้ธุรกิจโดยการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งบางรายที่ EJF ได้มีโอกาสัมภาษณ์นั้นมีอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น
“ มีเรือประมงและมีคนจับปลามากเกินไปในเวียดนาม เราเดินเรือออกไปไกลฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้เลยว่ามันอันตรายแค่ไหน– Tran Linh, ไต๋เรือประมงเวียดนามVietnamese fishing boat captain, สัมภาษณ์โดย EJFในเดือนเมษายน 2562.
การทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องโดยเรือประมงสัญชาติเวียดนามนั้นในไปสู่การ ‘ มอบใบเหลือง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ‘
หากประเทศไทยเดินตามรอยของเวียดนามและปล่อยให้กองเรือพาณิชย์ได้ขยายขนาดอย่างเฟื่องฟูอีกครั้ง ทรัพยากรประมงที่กำลังได้รับการฟื้นตัวคงต้องเข้าสู่สภาวะวิกฤตอีกครั้ง

เรือประมงสัญขาติเวียดนามที่โดนจับโดยตำรวจน้ำเนื่องจากการทำประมงผิดกฎหมาย
แนวโน้มในธุรกิจการค้าโลกต่ออุตสาหกรรมประมงไทยGlobal trade
อุตสาหกรรมอาหารทะเลนั้นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย และรัฐบาลไทยควรคงไว้ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายที่มาจากปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงหากอยากให้อุตสาหกรรมหลักนี่ยังคงเติบโตต่อไป การสรหาจากประชาคมโลกและมาตรการกีดทางการค้านั้นเป็นอนาคตที่รออยู่ หากประเทศไทยยอมปล่อยให้อุตสาหกรรมได้กลับคืนสู่สภาพก่อนมีการปฏิรูป
สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้อ้างว่าประเทศไทยสามารถส่งสินค้าไปขายที่ตลาดอื่นๆที่ไม่สนใจเรื่องความยั่งยืนและการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย เช่น ประเทศจีน และภูมิภาคตะวันออกกลาง และยอมไม่ส่งออกไปยังตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งหากประเทศไทยทำเช่นนั้นจริงจะทำให้รายได้จากการส่งออกตกลงถึง 50% (อ้างอิงจากข้อมูลการส่งออกพ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่า 6.95 ล้านล้านดอลลาร์)
ประเทศไทยไม่ควรปล่อยให้มาตรฐานการทำประมงตกต่ำจนทรัพยากรในทะเลไม่หลงเหลือ รัฐบาลไทยควรเดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างกองเรือประมงพาณิชย์ที่มีความยั่งยืน การคงไว้ซึ่งกฎหมายและกฎระเบียบตั้งแต่สมัยการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมง ร่วมกับการดำเนินโครงการรับซื้อเรือคืนและการจัดสรรวันทำประมงที่เหมาะสม และการปรับการออกแบบเรือประมงให้ทันสมัยมากขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมประมงนั้นกลายเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำกำไรได้อย่างมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบต่างๆ
การเดินหน้าต่อไปในทางนี้ แทนที่จะเป็นการเดินตามคำขอร้องของสมาคมประมง เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถกอบกู้ชื่อเสียงในสถานะหนึ่งในชาติที่มีอุตสาหกรรมประมงที่เฟื่องฟู มีประชากรสัตว์น้ำที่สามารถส่งต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้

ประเทศไทยควรเพิ่มพูนมาตรฐานด้านการจัดการทรัพยากรประมงต่อไป เพื่อโอกาสและความได้เปรียบทางการค้า
SIGN UP FOR OUR EMAILS AND STAY UP TO DATE WITH EJF'S NEWS AND EVENTS
By subscribing to our newsletter, you ensure that you will stay up-to-date with latest news on our work and our campaigns, as well as how you have been part of achieving those goals. We carefully select what goes into our emails so that you will only receive relevant and interesting news about our campaigns. We will let you know when we have exposed a critical environmental issue or uncovered human rights abuses. We will ask you to get involved when your actions can make a difference, and we look forward to inviting you to our events.