Donate
การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงนั้นเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อประเทศไทย  บทความโดย สตีฟ เทรนท์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF)
Sep 17, 2020

การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงนั้นเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อประเทศไทย บทความโดย สตีฟ เทรนท์ ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (EJF)

By Steve Trent

สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกำลังเดินหน้าเรียกร้องและพลักดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกและผ่อนปรนการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างมหาศาล การเรียกร้องเช่นนี้นั้นถือเป็นการกระทำที่ขาดวิสัยทัศน์และขาดการมองการไกลไปถึงอนาคตข้างหน้าของประเทศไทย และประชากรอย่างน้อยหลายแสนคนที่ชีวิตความเป็นอยู่นั้นขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนี้

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาด การรายงาน ไร้การควบคุม (IUU Fishing) และสามารถปกป้องทรัพยากรไว้สำหรับอุตสาหกรรมประมงภายในเวลาไม่กี่ปี ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักให้แก่ประเทศไว้ได้ โดยก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึงทศวรรษ ประเทศไทยยังคงมีอุตสาหกรรมประมงที่มีการทำประมงผิดกฎหมายและการเอารัดเอาเปรียบแรงงานเกิดขึ้นเป็นประจำ และเรือประมงไทยยังเคยต้องออกไปทำประมงในระยะทางที่ไกลและใช้ระยะเวลาที่นานเนื่องจากไม่มีปลาให้จับในทะเล

เมื่อสถานการณ์ที่ย่ำแย่ดังกล่าวได้ตกเป็นที่จับตามอง การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงไทยก็เริ่มขึ้น และอุตสาหกรรมประมงไทยก็เริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านของการกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเฟื่องฟูอีกครั้ง และยังเป็นอุตสาหกรรมที่จะเติบโตต่อไปได้จนถึงชาวประมงอีกหลายรุ่น การปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้ต้องการมาอย่างยาวนาน และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า หากการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงนี้ไม่เกิดขึ้น ประเทศไทยคงต้องเผชิญกับทั้งข้อครหาจากประชาคมโลก และอุตสาหกรรมประมงที่จะมีการเติบโตที่ถดถอยลง

หลังจากที่รัฐบาลไทยได้มีการเริ่มปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงอย่างจริงจัง การประมงของไทยก็เริ่มได้รับการฟื้นฟู

ชาวประมงพื้นบ้านหลายคนได้เล่าให้ EJF ฟังว่า จำนวนปลาและสัตว์น้ำอื่นๆกำลังทยอยกลับมาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ขนาดของสัตว์น้ำเหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ชาวประมงพื้นบ้านคนหนึ่งบอกเราว่า: “ หลังจากที่เริ่มมีกฎระเบียบด้านการประมงใหม่ๆ สัตว์น้ำก็เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น ผมมีความสุขมาก และรู้สึกปลื้มใจมากที่ปลาและสัตว์น้ำเหล่านี้จะมีโอกาสเติบโตไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน “

สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยกำลังสร้างความเข้าใจที่ผิดๆให้กับสาธารณะชน ทั้งอ้างว่ากฎระเบียบต่างๆที่ถูกบังคับใช้นั้นถูกออกมาถี่และมีจำนวนมากเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการประมงไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปไปได้ เนื่องจากโทษปรับของกฎหมายมีความรุนแรงเกินไป นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทำการซื้อเรือประมงพาณิชย์กว่า 10,000 ลำคืน โดยอ้างว่าหากไม่มีกฎระเบียบเหล่านี้ อุตสาหกรรมประมงไทยก็จะเติบโตและเฟื่องฟูได้เหมือนเวียดนาม

ข้อเรียกร้องเหล่านี้นั้นเป็นข้อเรียกร้องที่เห็นแก่ตัว และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนเพียงกลุ่มเล็กๆ และหลายคนอาจเป็นผู้ประกอบการที่อาศัยช่องว่างของกฎหมายในการทำผิด และจะทำให้ชาวประมงพื้นบ้านหลายหมื่นคนต้องตกอยู่ในความลำบาก

ข้อกล่าวหาที่ถูกกล่าวมาด้านบนนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

การปฏิรูปที่ค่อยเป็นค่อยไป

นับตั้งแต่การริเริ่มการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงในพ.ศ. 2558 รัฐบาลไทยได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆ โดยให้เวลาผู้ประกอบการเรือประมงได้มีช่วงปรับตัว และยังให้เวลาถึงหนึ่งปีในการให้ผู้ประกอบการหลายรายปรับเปลี่ยนเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น มาตรการบางอย่างยังก่อให้เกิดภาระและหน้าที่ในการพลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในภาครัฐ มากกว่าจากผู้ประกอบการ เช่น การจัดตั้ง ก่อตั้งศูนย์การแจ้งเข้า-ออกเรือประมง

กองเรือไทย ซึ่งเคยทำการประมงอย่างเกินกำลังผลิตยังถูกลดจำนวนลงเพื่อก่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น จาก 13,000 ลำ เป็น 10,000 กว่าลำในปัจจุบัน โดยการลดจำนวนเรือประมงนี้นั้นเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพยากรประมงเกิดความสูญเสียไปมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ ตัวเลขเรือประมงในอดีตกว่า 40,000 ลำที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้อ้างมานั้นยังรวมเรือประมงพื้นบ้าน 27,000 ลำ ที่ผลการผลิตสัตว์น้ำนั้นต่ำกว่าผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์อย่างเห็นได้ชัด

แท้ที่จริงแล้วนั้น วิธีแก้ปัญหาเรื่องบทลงโทษของกฎหมายที่ ‘ รุนแรง ‘ เกินไปนั้นแก้ได้ไม่ยาก นั่นก็คือ การไม่ทำประมงผิดกฎหมาย เพราะนอกจากการบังคับใช้กฎหมายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังมีหน้าที่ตามกฎหมายสากลในการออกแบบและสร้างระบบการลงโทษที่ป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไทยดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพจนสามารถป้องกันผู้ที่มีโอกาสกระทำผิดให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังกล่าวได้

ความจริงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประมงเวียดนาม

การแนะนำว่าประเทศไทยควรจะมีอุตสาหกรรมประมงที่เฟื่องฟูอย่างประเทศเวียดนามนั้นเป็นการสร้างความเข้าใจผิดๆ ในปัจจุบัน ประเทศเวียดนามกำลังต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมประมง ซึ่งวิกฤตครั้งนี้เกิดจากการเดินตามรอยความผิดที่เคยเป็นตราบาปของอุตสาหกรรมประมงไทยในอดีต

ประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตของกองเรือประมงเร็วที่สุดในโลก โดยขนาดกองเรือนั้นพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 160% ในระหว่างพ.ศ. 2533 ถึง 2562 โดยผลผลิตอาหารทะเลทั้งหมดของประเทศในพ.ศ. 2561 นั้นอยู่ที่ 3.4 ล้านตัน ทะลุค่าผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Yield: MSY) ที่ 2.3 ล้านตันไปหลายล้านตัน

พฤติกรรมการทำประมงเกินกำลังผลิตเช่นนี้ ทำให้เรือประมงเวียดนามต้องดิ้นรนออกมาทำการประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำสากลซึ่งอยู่ในอนาเขตของประเทศต่างๆ เนื่องจากปลาในทะเลเวียดน้ำนั้นไม่มีเพียงพอให้จับอีกแล้ว โดยจากการสืบสวนกว่า 2 ปี ของมูลนิธิ EJF ไต๋เรือหลายคนได้เล่าว่าผู้ประกอบการเรือประมงหลายคนได้มีการสั่งและสนับสนุนให้เรือประมงออกจากเวียดนามเพื่อมาทำการประมงผิดกฎหมาย โดยในระหว่างต้นปีพ.ศ. 2561จนถึงเดือนพฤษภาคมปีพ.ศ. 2562 มีเรือประมงสัญชาติเวียดนามอย่างน้อย 254 ลำที่ถูกจับในข้อการทำการประมงผิดกฎหมายใน 11 ประเทศ ในขณะที่ผู้ประกอบการเรือเวียดนามกำลังเผชิญกับสภาวะขาดทุน ผู้ประกอบการหลายรายยังพยายามกอบกู้ธุรกิจโดยการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งบางรายที่ EJF ได้มีโอกาสัมภาษณ์นั้นมีอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น

“ มีเรือประมงและมีคนจับปลามากเกินไปในเวียดนาม เราเดินเรือออกไปไกลฝั่งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้เลยว่ามันอันตรายแค่ไหน– Tran Linh, ไต๋เรือประมงเวียดนามVietnamese fishing boat captain, สัมภาษณ์โดย EJFในเดือนเมษายน 2562.

การทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องโดยเรือประมงสัญชาติเวียดนามนั้นในไปสู่การ ‘ มอบใบเหลือง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561

หากประเทศไทยเดินตามรอยของเวียดนามและปล่อยให้กองเรือพาณิชย์ได้ขยายขนาดอย่างเฟื่องฟูอีกครั้ง ทรัพยากรประมงที่กำลังได้รับการฟื้นตัวคงต้องเข้าสู่สภาวะวิกฤตอีกครั้ง


Vietnam boats

เรือประมงสัญขาติเวียดนามที่โดนจับโดยตำรวจน้ำเนื่องจากการทำประมงผิดกฎหมาย

แนวโน้มในธุรกิจการค้าโลกต่ออุตสาหกรรมประมงไทยGlobal trade

อุตสาหกรรมอาหารทะเลนั้นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย และรัฐบาลไทยควรคงไว้ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายที่มาจากปฏิรูปอุตสาหกรรมประมงหากอยากให้อุตสาหกรรมหลักนี่ยังคงเติบโตต่อไป การสรหาจากประชาคมโลกและมาตรการกีดทางการค้านั้นเป็นอนาคตที่รออยู่ หากประเทศไทยยอมปล่อยให้อุตสาหกรรมได้กลับคืนสู่สภาพก่อนมีการปฏิรูป

สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยได้อ้างว่าประเทศไทยสามารถส่งสินค้าไปขายที่ตลาดอื่นๆที่ไม่สนใจเรื่องความยั่งยืนและการทำประมงอย่างถูกกฎหมาย เช่น ประเทศจีน และภูมิภาคตะวันออกกลาง และยอมไม่ส่งออกไปยังตลาดหลัก เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป หรือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งหากประเทศไทยทำเช่นนั้นจริงจะทำให้รายได้จากการส่งออกตกลงถึง 50% (อ้างอิงจากข้อมูลการส่งออกพ.ศ. 2561 ที่มีมูลค่า 6.95 ล้านล้านดอลลาร์)

ประเทศไทยไม่ควรปล่อยให้มาตรฐานการทำประมงตกต่ำจนทรัพยากรในทะเลไม่หลงเหลือ รัฐบาลไทยควรเดินหน้าต่อไปเพื่อสร้างกองเรือประมงพาณิชย์ที่มีความยั่งยืน การคงไว้ซึ่งกฎหมายและกฎระเบียบตั้งแต่สมัยการปฏิรูปอุตสาหกรรมประมง ร่วมกับการดำเนินโครงการรับซื้อเรือคืนและการจัดสรรวันทำประมงที่เหมาะสม และการปรับการออกแบบเรือประมงให้ทันสมัยมากขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมประมงนั้นกลายเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำกำไรได้อย่างมีภูมิคุ้มกันจากผลกระทบต่างๆ

การเดินหน้าต่อไปในทางนี้ แทนที่จะเป็นการเดินตามคำขอร้องของสมาคมประมง เป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถกอบกู้ชื่อเสียงในสถานะหนึ่งในชาติที่มีอุตสาหกรรมประมงที่เฟื่องฟู มีประชากรสัตว์น้ำที่สามารถส่งต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานได้

Thai fleet

ประเทศไทยควรเพิ่มพูนมาตรฐานด้านการจัดการทรัพยากรประมงต่อไป เพื่อโอกาสและความได้เปรียบทางการค้า